วัดนันตาราม จ.พะเยา สวยสมคำล่ำลือ

สวยสมคำล่ำลือ ณ วัดนันตาราม จ.พะเยา วัดที่มีศิลปะพม่าแบบผสมผสาน สร้างจากไม้ทั้งหลัง หลังคาเป็นชั้นเรียงลดหลั่นกันลงมา สวยงามแบบไม่มีคำบรรยาย

1 ปีก่อนเราเคยมาเยือนยังที่นี่ เมื่อได้เห็นครั้งแรกก็ตะลึง กลับมาอีกครั้งก็ยังตะลึงเหมือนเดิม 555 งามแต้งามว่า….ด้านในวิหารด้านหลัง ยังมีพิพิธภัณฑ์ให้เดินเยี่ยมชมอีกด้วยนะ

เพื่อสืบสานอัตลักษณ์และวัฒนธรรม ทางวัดได้มีกิจกรรม แต่งชุดปะโอถ่ายภาพไว้เป็นที่ระลึก พร๊อพครบทั้ง ร่ม ดาบ ตะกร้า สีสันสดใส เหมาะแก่การเซลฟรี..อย่าช้า!! รีบมาเที่ยวกันค่ะ

อ้อลืมบอก!!สำหรับใครที่แต่งกายนุ่งสั้น ที่นี่ก็มีผ้าถุง ลวดลายลุนตยา ไว้ให้ผลัดเปลี่ยนก่อนเข้าสักการะยังพระด้านในวิหารไม้อันสักสิทธิ์ ขออย่างเดียวใช้แล้วพับเก็บให้เรียบร้อยกันนะคร้า

>>อ่านรีวิวต่อใต้ภาพ<<

พิกัด: วัดนันตาราม
1 ม.13 ต.หย่วน อ. เชียงคำ จ.พะเยา(เข้าซอยห้างโลตัส)https://goo.gl/maps/gvan2udcir92

#แอ่วดีReview
www.aewdee-review.com

#เที่ยวพะเยา #เชียงคำ #วัดสวยในเมืองไทย #วัดพม่าในเมืองไทย#วัดนันตาราม #เที่ยวเชียงคำ #พะเยา

ที่ตั้งของวัดนันตารามในปัจจุบัน อดีตเคยเป็นวัดร้างมาก่อน ชาวบ้านเคยเห็นลำแสงประหลาดลอยขึ้นบริเวณสถานที่แห่งนี้ ในช่วงวันเพ็ญบ่อยๆ และยังมีต้นโพธิ์เก่าแก่ต้นหนึ่งตั้งเด่น อยู่กลางผืนดินแห่งนี้ ต่อมาพ่อหม่องโพธิ์ขิ่น ได้แผ้วถางพื้นที่แล้วทำเป็นที่พำนักสงฆ์ ต่อมาได้นิมนต์พระมาจากเมืองตองกี รัฐฉาน ประเทศพม่า ได้จำพรรษาอยู่ที่นี่และได้สร้างวิหารไม้มุงด้วยหญ้าคา บริเวณใกล้ๆกับต้นโพธิ์  ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า “วัดจองคา” แปลได้ว่า วิหารที่มุงด้วยหญ้าคา

 

ต่อมาแม่จ๋ามเฮิง ก็ได้บริจาคที่ให้กับวัดประมาณ 8 ไร่ 1 งาน จากนั้นพ่อเฒ่านันตา(อู๋) ก็ได้เป็นเจ้าภาพสร้างวิหารไม้หลังใหม่ เมื่อปี พ.ศ.2468 และได้อันเชิญพระพุทธรูปไม้สักทองประธานวิหาร วัดจองเหม่ถ่า อ.ปง จ.พะเยา ซึ่งเป็นวัดที่ถูกทิ้งร้างมาประดิษฐานเป็นพระประทาน  จากนั้นได้เปลี่ยนชื่อจากวัดจองคา มาเป็น วัดนันตาราม เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่พ่อเฒ่าผู้สร้าง พ่อเฒ่านันตา(อู๋) และตระกูล วงศ์อนันต์

วิหารเป็นไม้สักทั้งหลัง ออกแบบก่อสร้างโดยช่างชาวพม่า รูปแบบสถาปัตยกรรมแบบพม่าตอนล่าง  หลังคายกทรงยวนทัตงาซิน ยกช่อลดหลั่นกันลงมา มุงหลังคาด้วยแป้นเกร็ด ปานต่อง และปานซอย(เทคนิคลวดลายการฉลุไม้) มองจากภายนอกแบ่งเป็น 3 จอง จองประธานสูงสุดเรียกว่า ” จองพารา” เป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูป
ด้านในที่ประดิษฐานของพระประทาน ผู้หญิงจะห้ามขึ้นนะคะ

 

จองต่ำสุดอยู่หน้ามุข เรียกว่า จองตะก่า ผะก่ามะ(เป็นที่นั่งของฆราวาส)

ส่วนจองที่แยกไปต่างหากด้านตะวันออก เรียงว่า จองสังฆะ (คือกุฎิที่พำนักของเจ้าอาวาส)

สำหรับการเยี่ยมชมวัด หากมาเป็นหมู่คณะ สามารถติดต่อรถราง เผื่อนั่งชมวิถีชีวิตของชนเผ่าลื้อได้อีกด้วย และนอกจากนี้ยังมีจักรยานให้ปั่นชมภูมิทัศน์โดยรอบ ในช่วงวันเสาร์-อาทิตย์ มีกลุ่มชุมชน ทำขนมให้ได้ชิมและติดไม้ติดมือกลับบ้านกันอีกด้วย 

 

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น